วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่3 การสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต

บทที่3 การสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
3.1ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
             อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
            อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรกในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมดสำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกาอย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
         ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
3.2 เว็บไซต์และโปรแกรมเว็บเบราเซอร์


       
      เบราเซอร์ (Browser) เป็นชื่อที่ใช้เรียกโปรแกรมที่เราใช้ท่องเว็บกัน ซึ่งชื่อนี้หลายท่านไม่คุ้นและไม่รู้จัก ส่วนมากเวลาถามว่าใช้อะไรเล่นเน็ตก็มักจะได้คำตอบว่า IE บ้าง Chrome บ้าง Firefox บ้าง แต่พอถามว่าใช้เบราเซอร์อะไร กลับได้รับคำตอบคือ งงๆๆๆ อะไรคือเบราเซอร์?
      เบราเซอร์ (Browser) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์  เบราเซอร์มีความสามารถในการเปิดดูไฟล์ต่างๆ ที่สนับสนุนเช่น Flash  JavaScript  PDF  Media ต่างๆ ซึ่งเบราเซอร์มีหลายตัวและความสามารถของแต่ละตัวก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาเบราเซอร์  พัฒนาให้มีความสามารถอะไรบ้าง เบราเซอร์มักใช้เปิดดูเว็บเป็นส่วนใหญ่ และการใช้งานต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มักจะทำผ่านเบราเซอร์ เช่น การดูภาพยนตร์ผ่าน Youtube  การส่งเมล์  การซื้อขายสินค้าในระบบ e-commerce  การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)  การดาวน์โหลดไฟล์  การเล่นเกมผ่านเน็ต  การเรียนออนไลน์  เป็นต้น  ล้วนแล้วแต่ทำผ่านเบราเซอร์ทั้งสิ้น 
         การใช้งานอินเตอร์เน็ตนั้นเราจะต้องใช้งานผ่าน Web Browser (เว็บบราวเซอร์) ทุกครั้งแน่นอนว่าหลายคนยังไม่รู้ความหมายจริงๆของเว็บบราวเซอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมและเครื่องมือในการท่องอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเปิด Webpage ต่างๆได้อย่างราบรื่น สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านเนื้อหา เว็บบอร์ด ดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้กระทั่ง Social network ยอดนิยมอย่าง Facebook
3.3 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สารบนเว็บ
         วิธีการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต     
ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ  จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ   ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
              วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engineโดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Clickเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine 
              วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
ประเภทของ Search Engine
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ
             1.  Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษาHTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสั่งของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
             2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ

           3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
3.4 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น
เครื่องมือสืบค้นอาจแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Crawler Based Search Engine
2. Meta Search Engine
3. Classified Directory
4. Subject Gateway
       โครงสร้างของ Crawler Based Search Engine จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ
1. Spider หรือ Web Robot
Spider หรืออาจเรียกในชื่ออื่นว่า Web Robot หรือ ครอเลอร์ (Crawler) Search Engine ทุกตัว จะส่ง robot ของตัวเอง เช่น หากเป็น Google จะเรียกว่า Google bot , MSN จะเรียกของตัวเองว่า MSN bot หรือแม้แต่ Yahoo หรือ Search Engine ตัวอื่น ๆ ก็จะเรียกชื่อที่ต่างกันออกไป เพื่อจุดประสงค์ไปไต่ (Craw) ตามเว็บ Link ต่างๆ เช่น และเก็บเอาเนื้อหา หรือ Content ต่างๆ กลับมาวิเคราะห์ที่ Server ของตัวเอง เพื่อหาว่า เนื้อหาใน Web ที่ไปเก็บมานั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น กีฬา , ข่าว , Blog หรือเนื้อหาอื่น ๆ โดยจะใช้กรรมวิธีในการคิด วิเคราะห์ (Algorithm) ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อวิเคราะห์ให้ได้ว่า Web นั้น มีเนื้อหาด้านนั้นจริงๆ และนำมาจัดเก็บใน Index Server เพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาคำที่ต้องการ มาค้นหาจาก Index Server เพื่อจะได้ค้นหา Website ที่เขาต้องการได้รวดเร็ว และตรงตามใจที่สุด
นอกจาก Spider จะทำงานหาลิงค์เพิ่มโดยอัตโนมัติแล้ว Search Engine ส่วนใหญ่อนุญาตให้ส่ง URL เพื่อกำหนดให้ Spider มาทำดัชนีที่เว็บไซต์ใดๆได้ ในปัจจุบันมีบริการที่จะส่ง URL ไป Search Engine หลายๆแห่งพร้อมกันในคราวเดียวเช่นที่ www.submit-it.com Spider หรือ Web Robot จะมีโปรแกรมคำสั่งที่เรียกว่า robots.txt คือการคำสั่งให้ Web Robot ของแต่ละ search engine นั้น ทำตามเก็บ index แต่ละอย่างที่เว็บไซต์ที่อนุญาติ โดยบางเว็บไซต์อาจไม่ต้องการให้ search engine เข้าไปในเว็บบางอย่าง ก็จะเขียนกำหนดได้บน Robot.txt นี้เอง robots.txt เป็น fileที่บอก Search engine ว่า ไม่ต้องมาเก็บเว็บไซต์นี้ หรือเว็บเพจบางหน้า หรือไฟล์บางไฟล์ Robot เป็นโปรแกรมเก็บข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ซึ่งบางครั้ง เรียกว่า Spider หรือ ครอว์เลอร์(Crawler) จะทําหน้าที่รวบรวมไฟล์ HTML เพื่อมาเป็นข้อมูล สําหรับสร้างดัชนีค้นหา ให้กับ Search Engine โดยทั่วไปแล้ว โรบอตจะกลับมาที่เว็บไซต์ที่อ่านไปแล้ว เพื่อตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลง ตามระยะเวลาที่กําหนด
2. indexer
Indexer ( อินเด็กเซอร์ ) หรือบางครั้งเรียก catalogue ( แคตตาล็อก ) จะรับข้อมูลจาก Spider มาทำดัชนี เทคนิคการทำดัชนีมักใช้การจัดเก็บแบบแฮชชิง เพื่อที่ช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว ขั้นตอนการทำงานของ index ( อินเด็กซ์ ) แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ
- กรองคำด้วยฟิลเตอร์ เนื่องจากไฟล์ที่ทำดัชนีอาจไม่เป็น HTML หรือไฟล์แอสกี ดังนั้นฟิลเตอร์จะตรวจสอบไฟล์ที่ได้ว่าเป็นไฟล์ชนิดใดสามารถนำมาทำดัชนีได้หรือไม่ ถ้าได้ก็จะส่งต่อสู่ภาคการแยกคำต่อไป Search Engine บางตัวสามารถ ทำดัชนีไฟล์อื่นๆนอกเหนือจากไฟล์ HTML ได้ด้วยเช่น Index Server ของไมโครซอฟต์สามารถทำดัชนีคำของแฟ้มเวิร์ดหรือเอกเซลได้
- แยกคำ ขั้นตอนนี้จะรับสายอักขระมาจากฟิลเตอร์ แล้วตัดแบ่งสายอักขระนั้นๆออกเป็นคำๆ และเพื่อตรวจสอบต่อไปว่าควรจะนำคำนั้นมาทำดัชนีหรือไม่
- จัดทำดัชนี ขั้นตอนนี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบคำศัพท์แต่ละคำที่ได้มาจากการแยกคำ แล้วพิจารณาว่าคำศัพท์คำนั้นสมควรที่จะนำมาทำดัชนีหรือไม่ เช่นคัดทิ้งคำบางคำที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการค้นหา คำสิ้นเปลืองและคำหยุด (Common word หรือ stop word) ออกไปจากหน้าเอกสาร เช่น a, the, is, on, of, it เป็นต้น เพื่อลดอัตราการสิ้นเปลืองในการประมวลผลแต่ละครั้งให้เหลือน้อยที่สุด
3. Search Engine software
เป็นส่วนของโปรแกรมที่รับคำศัพท์ที่ต้องการให้ค้นหา แล้วค้นหาในดัชนี หลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่ค้นหามาจัดลำดับตามความสำคัญก่อนหลังเพื่อแสดงกลับไปบนหน้าจอ โปรแกรมส่วนนี้มักเป็นโปรแกรม cgi ที่เขียนเชื่อมโยงเข้ากับเว็บเพจที่รอให้ผู้ใช้ป้อนคำศัพท์

ตัวอย่าง Crawler Based Search Enginewww.google.com


    Google ซึ่งเป็น Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ มี Spider ที่มีความเร็วในการเก็บข้อมูลโดยที่ความเร็วสูงสุด Spider 4 ตัวสามารถรวบรวมข้อมูลได้มากกว่า 100 เว็บเพจต่อวินาที หรือไข้ข้อมูลประมาณ 600 Kต่อวินาที เวลาปรกติประสิทธิภาพของ Spider และ indexer ทำให้ Google ดาวน์โหลดข้อมูลล่าสุด 11 ล้านหน้าในเวลาเพียง 63 ชั่วโมงเฉลี่ยเพียง 4 ล้านหน้าต่อวันหรือ 48.5 หน้าต่อวินาทีเพราะ indexer ทำงานเร็วกว่า Spider จีงมีเวลาพอเพียงเพิ่มประสิทธิภาพการทำ indexer เพื่อให้มันไม่คั่งค้าง
3.5 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งของไทยและของต่างประเทศ
เว็บไทย
-www.thaiall.com
-www.siamguru.com
-www.sanook.com
-www.thaiseek.com
-www.saim-search.com
-www.sansarn.com
เว็บต่างประเทศ

- http://www.yahoo.com
Yahoo (อ่านว่า ยา-ฮู) เป็น Search Engine ที่เก่าแก่และเรียกว่ามีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดตัวหนึ่งในอาณาจักรอินเทอร์เน็ต จุดเด่นหลักของเว็บไซต์นี้คงมาจากความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่ทำได้อย่างรวดเร็วจุดหนึ่งที่ทำให้ Yahoo โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือการ แบ่งเว็บไซต์ที่เก็บในฐานข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่และยังมีการโยงใยระหว่างกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ


-http://www.ipl.org/ref/RR
เว็บนี้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ได้แยกออกไว้เป็นหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ (เหมือนกับเอ็นไซโคพีเดียหรือดิกชันนารี) โดยประกอบไปด้วย ศิลปะและมนุษย์ ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต การศึกษา สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ กฎหมาย องค์กรรัฐบาลและการเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-http://www.webopaedia.com
เป็นเว็บเอ็นไซโคพีเดียและเสิร์ชเอ็นจินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่ง คุณสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยใช้คีย์เวิร์ดหรือไประเภท ไซต์นี้ได้แบ่งหัวข้อต่าง ๆ ไว้ 15 หัวเรื่อง โดยคุณสามารถให้ทางไชต์ส่งข้อมูลอัพเดตมาที่คุณได้
-http://www.whatis.com
เว็บนี้เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีเอ็นไซโคพีเดีย คำจำกัดความ/หัวข้อเรื่อง และเพจสำหรับอ้างอิงรวดเร็วมากกว่า 2,000 เพจ เว็บนี้มีหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ที่ลิงก์ไปยังอ้างอิงของคำจำกัดความและหัวเรื่องอื่น ๆ มากกว่า 10,000 ลิงก์ และยังมีลิงก์ไปยังไซต์อื่น เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วย คุณจะชอบส่วนพิเศษของเว็บนี้


วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่2ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในด้านต่างๆ

          ซึ่งการที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกม แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติเพลเยอร์ (Multi Player) เป็นต้น


          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มคอมพิวเตอร์ (มากกว่าสองเครื่อง หรือ สองระบบขึ้นไป) ที่มีการเชื่อมต่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ โดยมีวัตถุประสงค์มากไปกว่าการสื่อสารข้อมูล เช่น อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการประมวลผลข้อมูลร่วมกัน หรือมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกตามขอบเขตการต่อเชื่อมว่าต้องการใช้ในระยะใกล้หรือไกลประเภทสำคัญ ๆ ดังนี้ 

          1. เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
          2. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
          3. เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN
          4. เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)

          เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ลักษณะสำคัญของเครือข่ายแลน คือ อุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถรับสัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก โดยทั่วไปมีความเร็วตั้งแต่หลายสิบล้านบิตต่อวินาที จนกว่าพันล้านบิตต่อวินาที การสื่อสารในระยะใกล้จะมีความเร็วในการสื่อสาร ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อย และสามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาจำกัดได้ เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรและมีแนวโน้มที่จะทำให้ทรัพยากรและการประมวลผลในองค์กรเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวทำให้ใช้งานร่วมกันได้ทั้งองค์กร เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก





          เครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ เช่น สารวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียมใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศมีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงเนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อมูลผิดพลาดของการรับส่งสัญญาณ เครือข่ายแวนเป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลาย ๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้





            เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายให้บริการสำหรับเมืองใหญ่ ๆ ที่พัฒนาจากระบบโทรทัศน์ทางสายหรือเคเบิ้ลทีวีในสมัยก่อน ระบบนี้ใช้สายโคแอกเชียลความเร็วสูงในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปให้สมาชิกตามบ้านต่อมาพัฒนาให้รับส่งข้อมูลได้โดยทั่วไป รับส่งสัญญาณภาพเสียง และข้อมูล โดยมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์รับส่งที่สามารถแยกสัญญาณนี้ออกจากกันทำให้บริการได้ทั้งเคเบิลทีวี วิทยุทางสายและเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์





          เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ได้รับการพัฒนามาจากเครือข่ายแวน เพื่องานวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่เรียกว่า อาร์พาเน็ต ในปี ค.ศ. 1983 ได้ใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานในการสื่อสารได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้เครือข่ายในองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมใช้งานกลายเป็นเครือข่ายทางไกลที่เชื่อมอยู่ระหว่างเครือข่ายจำนวนมาก อินเตอร์เน็ตทำให้เปิดโลกทัศน์ของผู้ได้กว้างไกลทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “โลกไร้พรมแดน” เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลกซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วไปเครือข่ายเหล่านี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้ กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อเดียวกัน ทั้งหมดเรียกว่า “ทีซีพี/ไอพี” ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันทางเทคโนโลยีสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้ ซึ่งมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบสลับวงจรและสลับข้อมูล



เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ

           ในยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องโดยเอกเทศ คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นจะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเพียงอย่างเดียวไม่มีหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูล
 ต่อมาเมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวางมากขึ้นพบว่าการใช้งานในบางกรณีจำเป็นต้องมีจุดป้อนข้อมูลหรือเรียกดูข้อมูลหลายจุดพร้อมกัน ดังนั้นจึงเกิดระบบการใช้งานที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multi-user system) แต่กรณีนี้ยังเป็นการประมวลผลจากหน่วยประมวลผลกลางเพียงเครื่องเดียวแต่มีการติดตั้งเครื่องปลายทาง (Terminal) สำหรับป้อนข้อมูลและเรียกดูข้อมูลพร้อมกันได้หลายจุดเท่านั้น จึงยังไม่ถือเป็นระบบการสื่อสารข้อมูล
            ในยุคต่อมา เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาใช้งานที่อยู่ในระบบงานเดียวกันจึงพบว่ามีความจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ต่างเครื่องกันเข้าด้วยกัน แรก ๆ ที่ทำโดยวิธีนิผลลัพธ์ที่ได้จากอุปกรณ์ส่งออกของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปป้อนใหม่เป็นข้อมูลเข้าของคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง เมื่อต้องทำด้วยวิธีการที่ไม่สะดวกเช่นนี้บ่อย ๆ เข้าจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลขึ้น 



องค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ระบบคอมพิวเตอร์
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ
3. ซอฟต์แวร์สำหรับการสื่อสารข้อมูล
4. เกณฑ์วิธี (Protocol) คือข้อกำหนดหรือระเบียบวิธีสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบนั้น ๆ
5. สื่อนำข้อมูล (Media) เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

ระบบสื่อสารข้อมูล

          การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึงการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่อง (หรือสองระบบ) ขึ้นไปโดยเป็นการรับส่งข้อมูลผ่านระบบสายหรือระบบไร้สายก็ได้ แต่ข้อมูลที่รับส่งกันนั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบรหัสดิจิตอล หรือสามารถแปลเป็นรูปแบบรหัสดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ฝ่ายรับข้อมูลสามารถนำข้อมูลนั้นไปประมวลผลต่อได้
 การสื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกลักษณะการใช้งานได้ 4 ประเภท
1. การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ
2. คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์
3. การรับและส่งผ่านสารสนเทศ
4. การแบ่งเวลาเครื่อง

          การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ โดยใช้เทอร์มินัลส่งและรับสารสนเทศผ่านสายโทรศัพท์ชักันมากในธุรกิจการเงิน การธนาคาร และงานพัสดุ คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ ใช้ในกรณีที่ต้องการฐานข้อมูลหรือส่งแฟ้มข้อมูล ระหว่างศูนย์คอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์อีกศูนย์หนึ่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ การรับและส่งผ่านสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษทำหน้าที่เป็นสวิตซ์รับและส่งสารสนเทศตามจุดหมายปลายทางที่กำหนดทำให้สามารถบริการสารสนเทศจำนวนมาก ในเวลาจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแบ่งเวลาเครื่อง วิธีใช้เป็นการสื่อสารข้อมูลระดับสูง มีความซับซ้อนด้านเทคนิควิธีโดยเฉพาะระบบควบคุมศักยภาพของระบบนี้ได้แก่ การติดต่อสื่อสารสนเทศกับผู้ใช้ทางไกลตอบรับทันทีที่ผุ้ใช้ปลายทางร้องขอ บริการผู้ใช้หลายคนไดในเวลาเดียวกันอนุญาตให้ผู้ใช้ปลายทางใช้โปรแกรมแตกต่างได้
 องค์ประกอบการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ มี 3 ประการดังนี้
1. อุปกรณ์การแสดงสารสนเทศ ได้แก่ จอภาพคอมพิวเตอร์เทอร์มินัลชนิดต่าง ๆ เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลกลาง ฯลฯ
2. อุปกรณ์ส่งผ่านสารสนเทศ ได้แก่ อุปกรณ์ประเภทสาย (Wire) เช่น เคเบิล สาย Coaxial สายโทรศัพท์ Twisted-pair สายใยแก้วนำแสง Optical Fiber
3. อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ได้แก่ โมเด็ม (Modem) อุปกรณ์ประเภท Line Driver และ Multiplexer




          สรุป ระบบการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลเป็นกระบวนการส่งผ่านและรับสารสนเทศระยะไกลในรูปแบบของสัญญาณแล้วแพร่กระจายผ่านช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรศัพท์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

การสื่อสารและเครือข่ายสื่อสาร

          ความหมายของ “การสื่อสาร” การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) หมายถึง “พร้อมกัน” หรือ “ร่วมกัน” หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง “ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน” ทางด้านความคิด เรื่องราวเหตุการณ์ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสาร ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราวการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง “ระบบ” เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ การสื่อสารยังหมายถึงการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย
           เครือข่ายสื่อสาร (Network) โดยทั่วไป จะหมายถึงรูปแบบของระบบสื่อสารและการเชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านส่งสัญญาณ การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายเป็นการแบ่งปันการให้ทรัพยากรของระบบ เช่น สายส่งสัญญาณ ทำให้การลงทุนของระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เครือข่ายสื่อสารที่เล็กที่สุดจะต้องมีจุดรับส่งอย่างน้อย 3 จุด โครงแบบของเครือข่ายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมี 3 แบบ คือ

- แบบ Star
- แบบ Bus
- แบบ Ring
          แบบ Star มีหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลางทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางลักษณะการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก





          แบบ Bus ลักษณะการทำงานของเครือขายแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า “บัส” (BUS) แบบ BUS นับว่าเป็นแบบที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบดูแลรักษาและติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน

   




 แบบ Ring เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารผ่านไปในเครือข่ายโดยที่ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวนหรือ RING~ นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย







ประโยชน์ของสารสนเทศผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งนี้เพราะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ตัวอย่างประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีดังต่อไปนี้
          1. การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน บนเครือข่ายมีสถานีที่เป็นเครื่องให้บริการซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลข่าวสารหรือข้อมูลใช้งาน แล้วให้ผู้ใช้ซึ่งเป็นเครื่องขอใช้บริการเรียกใช้ข้อมูล การเรียกใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน ทำให้การปรับปรุงข้อมูล การขอดู และการเรียกค้นกระทำได้ทันที เช่น เมื่อฝ่ายขายขายสินค้า ก็มีการลดจำนวนสินค้าออกจากบัญชีสินค้าคงคลัง เมื่อฝ่ายผลิตขอดูข้อมูลก็ได้ทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ทันทีว่ามีสินค้าเหลือเท่าไหร่ เนื่องจากเราสามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน
          2. การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย นอกจากที่เราจะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้แล้ว เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดทรัพยากรเราสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ เช่น สมมติเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย 5 เครื่องทุกเครื่องสามารถสั่งพิมพ์กับเครื่องเดียวกันได้


          3. การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนที่อยู่บนเครือข่าย จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สามารถส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันตลอดจนสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้แต่การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ผู้บริหารเครือข่ายหรือองค์กรกำหนดไว้
          4. สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดของสำนักงานสมัยใหม่ คือ การลดปริมาณการใช้กระดาษโดยการหันมาใช้ระบบการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด ปัจจุบันสำนักงานส่วนใหญ่ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำพิมพ์งานเอกสาร ดังนั้นถ้ามีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร การสื่อสารส่งงานระหว่างกันที่เป็นกระดาษก็สามารถใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนได้ ระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงเป็นระบบการทำงานที่ทุกสถานีงานเปรียบเสมือนโต๊ะทำงาน การทำงานแบบสำนักงานอัตโนมัติทำให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว