วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ
หน้าแรก
หน้าแรก
บทที่1
บทที่2
บทที่3
บทที่4
บทที่5
บทที่6
บทที่7
บทที่8
บทที่9
บทที่10
บทที่11
บทที่12
วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
บทที่8 การพิมพ์ข้อมูลโปรแกรมคำนวณและการประยุกต์ใช้ในการนำเสนอ
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database)
เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ระบบจัดการฐานข้อมูล
(Data base Management System : DBMS) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำโครงสร้างของฐานข้อมูล
และมีเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับพิมพ์ แก้ไข และดึงข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ออกแบบมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์และได้รับความนิยม ได้แก่
Microsoft Access, Corel Paradox และ Lotus Approach
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database)
เป็นฐานข้อมูลแบบโครงสร้างที่นิยมใช้กันมากที่สุด ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในตาราง (Table) ที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ละตารางจะประกอบด้วยแถวที่เรียกว่า ระเบียน หรือ เรคอร์ด (Record) และคอลัมน์ที่เรียกว่า
ฟิลด์ (Field) แต่ละ เรคอร์ด ประกอบฟิลด์ของสิ่งที่ต้องการเก็บข้อมูล เช่น บุคคล สถานที่ หรือสิ่งของ
ระบบจัดการฐานข้อมูลได้จัดเตรียมเครื่องมือที่หลากหลายสำหรับสร้างและใช้ฐานข้อมูล เช่น เครื่อง
มือในการเรียงลำดับเรคอร์ดตามฟิลด์ที่เลือก แต่อย่างไรก็ตามประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของระบบจัดการ
ฐานข้อมูล คือ ความสามารถในการค้นหาและดึงข้อมูลที่อยู่ในตารางต่าง ๆ ที่แยกกันได้โดยการใช้
เครื่องมือในการสอบถามข้อมูล ฟอร์ม และรายงาน การสอบถามข้อมูล (Query) เป็นการเรียกค้นหา
ข้อมูลที่ต้องการฟอร์มจะมีลักษณะคล้ายแบบฟอร์มในกระดาษเพียงแต่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของฟอร์มคือใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลเรคอร์ดใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มีอยู่ ข้อมูลจากตารางและการสอบถามสามารถนำไปใช้สร้างรายงาน (Report) ได้
การใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ
ความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกันให้เกิดประโยชน์และความสะดวกสบายในการทำงานระ
หว่างโปรแกรมประยุกต์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการทำงานนำเสนอ บางครั้งอาจจะต้องรวมแผนภูมิ
จากโปรแกรมตารางทำการหรือข้อมูลจากฐานข้อมูล ข้อมูลจากซอฟต์แวร์ประยุกต์หนึ่งจะสามารถ
นำไปใช้ร่วมกันระหว่างซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ ได้หลายทาง เช่น การคัดลอกและวาง การเชื่อมโยง
และการฝังวัตถุ
1. การคัดลอกและวาง
เป็นวิธีที่ตรงที่สุดโดยเพียงแต่เลือกข้อมูลหรือวัตถุที่ต้องการแล้วใช้คำสั่ง
คัดลอก (Copy) จากนั้นเปิดไฟล์ที่ต้องการวางข้อมูลดังกล่าว วางตัวชี้ในตำแหน่งที่ต้องการแล้วใช้
คำสั่งวาง (Paste) การใช้ข้อมูลร่วมกันในลักษณะนี้จะเป็นแบบอยู่คงที่คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจาก
ต้นทางจะไม่กระทบกับข้อมูลที่ถูกนำไปวาง
2. การเชื่อมโยงและฝังวัตถุ (Object Linking and Embedding : OLE)
เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์
มาก ทำให้สามารถใช้ข้อมูลหรือวัตถุ (Object) ที่สร้างจากโปรแกรมอื่นได้ ตัวอย่างเช่น
สามารถสร้างภาพแผนภาพจากโปรแกรมตารางทำการแล้วนำมาใส่ไว้ในเอกสารของโปรแกรมประมวล
ผลคำ
3.การเชื่อมโยงวัตถุ (Object linking)
เป็นการคัดลอกวัตถุจากไฟล์ต้นทาง (Source file) แล้วไป
ใส่ในไฟล์ปลายทาง (Destination file) จากนั้นการเชื่อมโยงระหว่างไฟล์ทั้งสองจะถูกสร้างขึ้น
อัตโนมัติ ถ้าไฟล์ต้นทางมีการเปลี่ยนแปลง วัตถุในไฟล์ปลายทางจะเปลี่ยนแปลงตามด้วย ตัวอย่างเช่น
ถ้านำแผนภาพจากโปรแกรมตารางทำการไปใส่ไว้ในเอกสารประมวลคำ แผนภาพนั้นจะปรากฏอยู่
ในเอกสารประมวลผลคำ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแผนภาพในแผ่นตารางทำการจะทำให้แผนภาพใน
เอกสารประมวลผลคำเปลี่ยนแปลงตามอย่างอัตโนมัติ
4. การฝังวัตถุ (Object embedding)
เป็นการนำวัตถุจากไฟล์ต้นทางไปฝังหรือรวมเข้าไว้กับเอกสาร
ปลายทาง การฝังวัตถุจะทำให้สามารถเปิด และแก้ไขวัตถุจากไฟล์ต้นทางภายในไฟล์ปลายทางได้
โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัตถุที่ฝังตัวจะไม่มีผลกับไฟล์ต้นทาง ตัวอย่างเช่น ถ้านำเอกสาร
จากโปรแกรมนำเสนอไปฝังในเอกสารประมวลผลคำซึ่งเป็นไฟล์ปลายทาง จะสามารถแก้ไขงานนำ
เสนอหรือแสดงการนำเสนอได้โดยตรงในเอกสารประมวลคำ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับวัตถุที่ถูกฝังใน
ไฟล์ปลายทาง จะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในไฟล์ต้นทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น